link1

ศูนย์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย
กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ ชุมพร ไทย พระนครศรีอยุธยา พังงา พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง สงขลา สุพรรณบุรี นครราชสีมา กรุงเทพมหานครฯ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครนายก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พะเยา พัทลุง เพชรบูรณ์ แพร่ ราชบุรี ลำปาง สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุราษฎร์ธานี อุทัยธานี ชัยภูมิ ตราด นครปฐม นนทบุรี บุรีรัมย์ ปทุมธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์ ภูเก็ต ระยอง เลย มุกดาหาร นครพนม ศรีสะเกษ หนองคาย อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เชียงราย ลำพูน ตรัง นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ลพบุรี ชัยนาท จันทบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา อ่างทอง กำแพงเพชร นครสวรรค์ นราธิวาส พิจิตร

บริการสืบค้น

Custom Search

PostHeaderIcon วัดหน้าพระธาตุ

อยู่ในเขตบ้านพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์ไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดหัวเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดหน้าพระธาตุ สันนิษฐานว่าสถานที่บริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์บุรีเก่า สิ่งที่สำคัญของวัดนี้ คือ องค์พระปรางค์สูงประมาณ 8 วา ทำเป็นรูปครุฑ อสูรถือกระบองประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร ภายหลังมีการเสริมแต่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะอยุธยาตอนต้น โดยการก่ออิฐเพิ่มเติมเป็นซุ้มจรนัมทั้งสี่ด้าน ตั้งแต่ฐานศิลาแลงขึ้นไปก่อด้วยอิฐย่อมุมทรงปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ ทิศตะวันออกขององค์ปรางค์มีพระวิหารหลวง ทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ และมีเจดีย์กลมเรียงรายหลายองค์ เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

การเดินทาง รถยนต์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 3032 เส้นสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี กิโลเมตรที่ 4 แล้วเข้าซอยเรือนจำจังหวัดสิงห์บุรี แยกจากปากทางเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร รถประจำทาง มีรถประจำทางผ่านเส้นทางเดียวกับวัดพระนอนจักรสีห์

PostHeaderIcon วัดสว่างอารมณ์

ตั้งอยู่ที่บ้านบางมอญ ตำบลต้นโพธิ์ ในเขตเทศบาลอำเภอเมืองสิงห์บุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดหลังเก่าไปทางลำน้ำเจ้าพระยาประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้เป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษา การก่อสร้างโบสถ์ วิหารศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูปมาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์และสามารถเล่นได้กว่า 300 ตัว ซึ่งพระครูสิหมุณี อดีตเจ้าอาวาส ได้รวบรวมตัวหนังใหญ่จากฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเอาไว้ และส่วนหนึ่งได้รับมอบหมายจากครูเปีย หัวหน้าคณะหนังเร่ ผู้ที่มีความสามารถในการเชิด-พาทย์หนังใหญ่ และได้ถ่ายทอดการแสดงหนังใหญ่สืบต่อกันมา ตัวหนังใหญ่ที่ใช้แสดงแบ่งเป็นชุดใหญ่ ๆ ได้ 4 ชุด คือ ชุดศึกใหญ่ (ศึกทศกัณฑ์) ชุดศึกมงกุฎ-บุตรลบ ชุดนาคบาศ และชุดศึกวิรุณจำบัง มีการสาธิตการแสดงหนังใหญ่ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์08.30-17.00 น. สนใจเข้าชมการแสดงกรุณาติดต่อล่วงหน้า โทร. 0 1851 6205, 0 1802 6085

การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 309 เส้นสิงห์บุรี-อ่างทอง (สายเก่า) กิโลเมตรที่ 94 ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีไปประมาณ 3 กิโลเมตร

PostHeaderIcon สิงห์บุรี

สิงห์บุรี เมืองอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยด้วยเรื่องราววีรกรรมการสู้รบของชาวบ้านบางระจัน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ 142 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 841 ตารางกิโลเมตร ตัวเมืองตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสามสายไหลผ่านคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ไว้ว่า “เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่ามาก มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุและของสำคัญคือ พระนอนจักรสีห์ใหญ่กว่าพระนอนองค์อื่นๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา เมืองสิงห์บุรีเรียกชื่อต่างกันดังนี้คือ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองลี้ลับ” เมืองสิงห์บุรีตั้งขึ้นเป็นจังหวัดสิงห์บุรีเมื่อปี พ.ศ. 2438 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง
เสน่ห์ของเมืองสิงห์บุรี คือ การตั้งชื่อถนนในเมืองเป็นชื่อวีรชนบ้านบางระจัน เช่น ถนนนายแท่น ถนนนายดอก ถนนนายอิน ถนนนายเมือง ถนนขุนสรรค์ เป็นต้น และนอกจากนี้จังหวัดสิงห์บุรียังเป็นเมืองที่มีวัดมากมายทั้งเก่าและใหม่ต่างยุคกัน